ใบงานที่ 1 กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

1ความหมายและขั้นตอนของการแก้ปัญหา
ตอบ  กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล
เพื่อกระทำให้เป็นสารสนเทศ  การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันต่อเหตุการณ์
 ขั้นตอน ขั้นดังนี้
 1.การรวบรวมข้อมูล
 2 การตรวจสอบข้อมูล
 3การประมวลผลข้อมูล
 4การจัดเก็บข้อมูล
 5การคิดวิเคราะห์
 6การนำข้อมูลไปใช้



2 ยกตัวอย่างปัญหา1ปัญหาพร้อมแก้ปัญหาเป็นลำดับขั้นตอน
ตอบ  ปัญหา ปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นและเพื่อนๆของผมที่ใช้ภาษาไม่ถูก
   วัยรุ่นไทยสมัยนี้นิยมใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพื่อการติดต่อที่รวดเร็วและเนื่องจากความเร็วในการสื่อสารรและความยากลำบากในการพิมพ์ตัวอักษรทำให้วัยรุ่นทำให้คำเหล่านั้นสั้นลงจนกลายเป็นภาษาวิบัติ
          ภาษาวิบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ตรงกับกับหลักภาษาในด้านการสะกดคำคำว่า 'ภาษาวิบัติ' ใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อย รวมถึงการใช้คำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ที่สะกดแปลกไปจากเดิม คำว่า "วิบัติ" มาจากภาษาบาลี หมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย
          ในประเทศไทย มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาเด็กไทยขาดการศึกษารวมถึงปัญหาภาษาวิบัติทำให้ เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่ภาษาวิบัติที่มีความหมายในเชิงลบ โดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อย เช่นเดียวกับภาษาเฉพาะวงการที่เป็นศัพท์สแลง
          ทั้งนี้ การเปิดใช้พจนานุกรมเพื่อค้นหาคำที่ควรใช้ให้ถูกต้องอาจเป็นทางเลือกที่ดี[ต้องการอ้างอิง] ทางบัณฑิตยสถานได้กำหนดคำที่ใช้อย่างเป็นทางการหรืออยู่ในรูปแบบมาตรฐาน หากใช้ผิดอาจกลายเป็นคำวิบัติได้[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งคำวิบัติไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของภาษาแต่อย่างใด[ต้องการอ้างอิง] เป็นเพียงการใช้ภาษาให้แตกต่างจากปกติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรืออาจใช้จากรุ่นสู่รุ่นไปจนกว่าคำวิบัตินั้นจะหายไปจากสังคมนั้น ๆ
1 การรวบรวมข้อมูล
   รวบรวมข้อมูลว่ามีคำไทยใดบ้างที่วัยรุ่นไทยใช้และสะกดผิดบ่อยที่สุด เช่น
             หน่องเตย (ใบเตย อาร์ สยาม)
             นู๋ (หนู)
             ชะมะ,ชิมิ (ใช่ไหม)
             ช่ะ (ใช่ปะ, ใช่เปล่า, ใช่หรือเปล่า ตามลำดับ)
             มว๊ากกกก (มาก)
             ป่าว , ป่ะ, ปล่าว (เปล่า)
             คัย,ไค,ครัย (ใคร)
             เตง,ตะเอง (ตัวเอง)
             เก๊า, เก๊าท์, (เขา)
             เทอ,เทอร์ (เธอ)
             ชั้ล , ช้าน (ฉัน)
             ค้ะ , คร๊ , คร้ะ , ค่า (ค่ะ)
             คร้าบ , คับ , คัฟ , คร๊าฟ (ครับ)
             บร๊ะ (พระ)
             เกรีeu (เกรียน)
             uou (นอน)
             Inw (เทพ)
             วาน (วัน)
             จิง (จริง)

2 การตรวจสอบข้อมูล
               ตรวจสอบว่าคำพวกนั้นมีการสะกดที่ถูกต้องอย่างไรและนำมาใช้ให้ถูกต้องและร่วมรณรงค์ว่าใช้ภาษาไม่ถูกไม่เท่ให้วัยรุ่นคนอื่นๆใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องและจะได้ใช้ให้ถูกต้องตามๆกัน

3 การประมวลผลข้อมูล 
               คอยดูว่าหลังจากรณรงค์เสร็จวัยรุ่นเริ่มใช้กันถูกมากขึ้นหรือไม่

การจัดเก็บข้อมูล
                จัดเก็บข้อมูลว่ามีคนใช้ภาษาไทยถูกมากขึ้นหรือไม่

5 การคิดวิเคราะห์
                 ประเมินว่าเพื่อนๆวัยรุ่นที่เคยใช้ภาษาไทยผิดๆได้ผลดีขึ้นหรือไม่
6 นำข้อมูลไปใช้
                นำข้อมูลไปใช้เสนอเพื่อรณรงค์ในโปรเจคใหญ่ๆเพื่อใช้ในวงกว้าง



อ้างอิง http://www.thaihealth.or.th/Content/25193-%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99.html

                 
  
               

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบงานที่ 3 การเขียนผังงาน

ใบงาน เรื่อง ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร

ใบงานเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ VB